วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

การสอนแบบโครงการ


ชื่อเรื่อง                  รายงานผลการพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเสริมประสบการณ์
ตามแนวการสอนแบบโครงการ  เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  1
ผู้ศึกษา                  นางกฤตยา  พรหมสุรินทร์  ครูชำนาญการ  โรงเรียนบ้านป่าแดง    
                                สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม  เขต  2  
                                สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ศึกษา               ปีการศึกษา  2551
                        
บทคัดย่อ

   การจัดประสบการณ์กิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนวการสอนแบบโครงการเป็น
การดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา โดยในการศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย
ของการศึกษา เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนวการสอน
แบบโครงการ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาพัฒนาการความก้าวหน้าด้านสติปัญญาของนักเรียน  ชั้นอนุบาลปีที่ 1
ที่เรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนวการสอนแบบโครงการ
เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนวการสอนแบบโครงการ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 เพื่อเปรียบเทียบ
ผลการสังเกตการจัดประสบการณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ระหว่างและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านป่าแดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 จำนวน 1 ห้องเรียน  จำนวน 16 คน ในห้องเรียนที่ผู้ศึกษาเป็นครูประจำชั้น ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มี 2 ชนิดได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนวการสอนแบบโครงการ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาของนักเรียน
ชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 4 แผน/โครงการ  แบบบันทึกการสังเกตพัฒนาการด้านสติปัญญา  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test (Dependent sample)
                   ผลการวิจัยปรากฏผล ดังนี้
                         1.  ประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนว
การสอนแบบโครงการ ชั้นอนุบาลปีที่ 1  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  82.92/86.77
                         2.  นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา ทั้ง 5 รายการ โดยในช่วงที่
1 - 2 มีค่าคะแนนเฉลี่ยของความก้าวหน้าร้อยละ 6.98 ช่วงที่ 2 - 3 มีค่าคะแนนเฉลี่ยของความก้าวหน้าร้อยละ 4.79 ช่วงที่ 3 - 4 มีค่าคะแนนเฉลี่ยของความก้าวหน้าร้อยละ 2.92 และช่วงที่ 1 - 4 มีค่า
คะแนนเฉลี่ยของความก้าวหน้าร้อยละ 14.69
                         3.  ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเสริมประสบการณ์
ตามแนวการสอนแบบโครงการ ชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.4279 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้า
ในการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 42.79
                         4.  นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีผลการสังเกตระหว่างและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนหลังจัดประสบการณ์สูงกว่าระหว่างจัดประสบการณ์
โครงการกล้วยตาก

โครงการเลี้ยงตัวหนอนผีเสื้อ

โครงการน้ำสมุนไพรจากตะไคร้

                                         
โึครงการเพาะถั่วงอก

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเทคโนโลยีมัลติพอยท์

รวบรวมโดย

  กฤตยา พรหมสุรินทร์   (นักศึกษาปริญญาโท สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มรม.)                                                             26 เมย. 2555


  สุภาวดี   จันเกื้อ  (2554 : บทคัดย่อ)ได้ศึกษางานวิจัยเรื่องการพัฒนามัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนระดับชั้น อนุบาลปีที่ 2 โดยใช้เทคโนโลยีมัลติพอยท์    โดยการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนามัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ให้มีคุณภาพ 2) หาประสิทธิภาพมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้น 3) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้น 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นและกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนชุมชนยอดแก่งสงเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ คือ มัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ แบบประเมินคุณภาพมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจผู้เรียน สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test (Dependent)   ผลการวิจัยพบว่า 1) มัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (=4.42, S.D.=0.48) 2) มัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 95.08/95.11   3) คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ 4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก (=2.92 , S.D.=0.26)

สุลาวัลย์   มาชัย  (2554 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษางานวิจัยเรื่อง การพัฒนามัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ โดยใช้เทคโนโลยีมัลติพอยท์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนามัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์โดยใช้เทคโนโลยี  มัลติพอยท์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2  2) หาประสิทธิภาพของมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  3) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้น และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ มัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ ที่พัฒนาขึ้น
                 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนชุมชนยอดแก่งสงเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3  จำนวน 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  1) มัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์  โดยใช้เทคโนโลยีมัลติพอยท์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2  2) แบบประเมินคุณภาพมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์  โดยใช้เทคโนโลยีมัลติพอยท์  สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2   3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง  การเรียน จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน  และสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test (Dependent) ผลของการวิจัย พบว่า 1) มัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ โดยใช้เทคโนโลยีมัลติพอยท์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพในระดับเหมาะสมมาก ( = 4.27,
S.D. =  0.44)   2) ประสิทธิภาพของมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ โดยใช้เทคโนโลยีมัลติพอยท์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ  95.08/95.22 เท่ากับเกณฑ์ที่กำหนด (95/95)  3) คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (= 28.57, S.D.= 0.9) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน (= 20.47, S.D. = 3.65)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ   4)  นักเรียนมีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 2.92 , S.D. = 0.27)